โครงสร้างการบริหารงานภายใน

      เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาทรัพยากรให้รองรับต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จึงกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ภายในสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม ดังนี้

  1. สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้ครอบคลุมกับการทำงานของบุคลากรในสำนัก

  2. ส่งเสริมและพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการแลกเปลี่ยนความรู้และฝึกอบรม

  3. นำเทคโนโลยีสารสนเทศที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นหรือมหาวิทยาลัยจัดหาให้ มาใช้สนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประกาศ ณ วันที่  2 มกราคม 2562

         สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม  จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเป็นส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2534  โดยมีพันธกิจเพื่อพัฒนาสำนักให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการ แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ และชุมชน  สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระหน่วยงานสาธารณะ และชุมชน เพื่อร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล  เพิ่มศักยภาพบุคลากรของสำนักสู่ความเป็นมืออาชีพ  สำนักได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (พ.ศ. 2566 - 2570) ได้จัดทำขึ้นในช่วงที่มีบริบทแวดล้อมส่งผลกระทบต่อความท้าทายที่สำนักต้องเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ส่งผลให้สำนักต้องปรับตัวรองรับการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (พ.ศ. 2566 - 2570) ขึ้น มีทิศทางการพัฒนาสำนักอย่างชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะยาวและผลักดันให้สำนักไปสู่ความเป็นเลิศตามวิสัยทัศน์ “ให้บริการทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ และชุมชน  และสามารถพึ่งพาตนเองได้” อย่างแท้จริง โดยนำกรอบทิศทางของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจการให้บริการวิชาการมาพิจารณา ทั้งนี้สำนักได้ระดมความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรทุกคนให้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  1   ความเป็นเลิศด้านบริการวิชาการ (Academic Service Excellence)
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่  2   ความเป็นเลิศด้านการจัดการ (Management Excellence)

ประกอบด้วย  7  เป้าประสงค์ ดังนี้

  1. พึ่งพาตนเองด้วยการหารายได้จากงานบริการวิชาการ
  2. มีระบบนิเวศ (Ecosystem) การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการ
  3. เป็นองค์กรที่มีภาพลักษณ์ (Branding) ที่ได้รับความเชื่อถือ เชื่อมั่น จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
  4. พัฒนาบุคลากรให้มีคุณลักษณะเฉพาะ (SMART People)
  5. เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University)
  6. บริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  7. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบนิเวศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์  ดังนี้

  1. ส่งเสริมให้มีระบบฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญของบุคลากรและความพร้อมด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ สำหรับงานบริการวิชาการ
  2. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับงานบริการวิชาการอย่างยั่งยืน
  3. ส่งเสริมให้มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ในด้านการบริการวิชาการ
  4. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอก
  5. สร้างแบรนด์ทางการตลาด (Marketing Brand) และภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) สำหรับใช้เพื่อประชาสัมพันธ์งานบริการวิชาการ
  6. ส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา และจิตสำนึกการรักองค์กร
  7. พัฒนากลไกการส่งเสริมทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากรแบบยั่งยืน
  8. พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมบริการเพื่อบุคลากร
  9. พัฒนาระบบงานบริการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนพันธกิจของสำนักอย่างยั่งยืน
  10. ส่งเสริมให้บุคลากรรักองค์กร มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา และมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน
  11. ปรับปรุงสภาพทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของ สพอ. ให้มีวัฒนธรรมสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กำหนดตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ไว้  12  ตัวชี้วัด  ดังนี้

  1. จำนวนรายได้จากงานบริการวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ
  2. จำนวนรายได้จากงานบริการวิชาการจากหน่วยงานภาคเอกชน
  3. ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่มีส่วนร่วมในงานบริการวิชาการต่อบุคลากรของสำนัก
  4. ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกต่อระบบสนับสนุนงานบริการวิชาการของสำนัก
  5. ร้อยละของจำนวนโครงการที่สำนักให้บริการวิชาการเพิ่มขึ้นจากจำนวนโครงการเฉลี่ยสามปีย้อนหลัง
  6. ฃร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะ (Re-skills/Up-skills/New-skills)
  7. ร้อยละของบุคลากรที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงานได้
  8. ระดับความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศของสำนัก
  9. จำนวนกระบวนการที่มีการปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลตามเป้าหมายที่กำหนด
  10. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี
  11. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการส่งเสริมความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี
  12. ระดับความพึงพอใจต่อการใช้พื้นที่ทางกายภาพสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


     ซึ่งสำนักจะมุ่งมั่นผลักดันการดำเนินงานต่าง ๆ ให้บรรลุตามตัวชี้วัดเพื่อให้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) บรรลุวิสัยทัศน์ในการให้บริการทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ และชุมชน  และสามารถพึ่งพาตนเองได้ 

ที่อยู่ติดต่อ

สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชั้น 8 อาคารอเนกประสงค์
1518 ถนนประชาราษฎร์1 แขวงวงศ์สว่าง
เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
อีเมล:  info@itdi.kmutnb.ac.th  
โทรศัพท์:  0 2555 2000 ต่อ 2605 - 2621 , 2626
โทรสาร: 0 2587 3766
รถประจำทางที่ผ่าน สาย : 32, 33, 64,  97, 117, 203, ปอ.543ก

สถิติผู้เข้าชม

Today 2002

Yesterday 1862

Week 6787

Month 23102

All 770897

Currently are 24 guests and no members online

เมนูหลัก

ลงชื่อบัญชี ITDI ของคุณ

ค้นหา

สถิติผู้เข้าชม

Today 2001

Yesterday 1862

Week 6786

Month 23101

All 770896

Currently are 24 guests and no members online